ปลูกฝังความยั่งยืนด้วยการวัดประเมินผลงานด้าน ESG
เนื่องจากหัวใจหลักขององค์กรคือการมุ่งมั่นสู่ความยั่งยืน การวัดประเมินผลงานด้าน ESG จึงช่วยสร้างสำนึกความรับผิดชอบและก่อให้เกิดผลลัพธ์ได้
เมื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกํากับดูแล (ESG) เปลี่ยนจากสิ่งดี ๆ ที่องค์กรควรมี ไปสู่การเป็นองค์ประกอบสําคัญในธุรกิจของคุณ โปรดจําไว้ว่าสิ่งที่ถูกวัดประเมินย่อมหมายถึงสิ่งที่ทำลุล่วงไปแล้ว การวัดประเมินผลงานด้าน ESG สามารถปลูกฝังตัวชี้วัดความยั่งยืนให้ทั่วทั้งองค์กรของคุณ โดยจะเป็นการถ่ายทอดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ให้กลายเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล
กระบวนการนี้มีความสําคัญ เนื่องจากความยั่งยืนคือหน้าที่ของทุกคนในธุรกิจ แต่มีองค์กรไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สามารถส่งต่อความรับผิดชอบนี้ไปให้ไกลกว่าแค่กลุ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร เราเชื่อว่าเมื่อบริษัทมีความยั่งยืนที่แกนหลัก บริษัทเหล่านี้จะมีความพร้อมในการบรรลุเป้าหมายที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคาดหวังเท่านั้น ซึ่งหมายถึงการปลูกฝังสำนึกด้าน ESG ลงการวัดประเมินผลงาน และดึงดูดผู้คนในทุกระดับ
ความยั่งยืนกําลังผลักดันพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ามากขึ้น พนักงานต้องการทำงานกับองค์กรที่มีเป้าหมายด้าน ESG ที่แข็งแกร่ง หน่วยงานกํากับดูแลต้องการความโปร่งใสต่อสาธารณะมากขึ้น และนักลงทุนและที่ปรึกษาตัวแทนกําลังผลักดันให้บริษัททําอะไรมากขึ้น
การพยายามทำทุกวิถีทางอย่างเต็มเพื่อสร้างความยั่งยืน จะทําให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพึงพอใจ และนี่คือสิ่งที่ถูกต้องและควรทําเพื่อโลกและผู้คนของเรา ยิ่งไปกว่านั้น คุณยังสามารถเพิ่มยอดขาย ลดต้นทุน และช่วยให้ดึงดูดและการรักษาพนักงานไว้กับองค์กรได้มากขึ้น ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบสําคัญท่ามกลางสภาวะการขาดแคลนผู้มีทักษะความสามารถสูง
ESG คืออะไร
แนวโน้ม ESG
ของผู้บริหารมุ่งเน้นไปที่ ESG ในองค์กรของตน
กังวลว่าการฝังเป้าหมายเหล่านี้ลงในแผนการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อความมุ่งมั่นต่อวัตถุประสงค์ด้านความยั่งยืน
ผู้บริหารกล่าวว่าเป้าหมายด้าน ESG/ความยั่งยืนกําลังมีอิทธิพลต่อแผนระยะสามปีของบริษัท
ของผู้นําฝ่ายทรัพยากรบุคคลกล่าวว่าพวกเขาหันไปมุ่งเน้นเกี่ยวกับ ESG ความยั่งยืน และทุนนิยมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น เนื่องจากการระบาดใหญ่
ของผู้นําฝ่าย HR กําลังตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บริหารมีภาระผูกพันสําหรับตัวชี้วัด ESG/ความยั่งยืน
บริษัทมีการแบ่งปันความเสี่ยงและรางวัลด้าน ESG กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
การดําเนินการล่าช้ากว่าที่ตั้งใจไว้
แม้การรับเอาหลักการด้าน ESG มาใช้จะมีประโยชน์ แต่ทุกฝ่ายก็เห็นพ้องว่าองค์กรไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปในเชิงบวกได้รวดเร็วพอ วันนี้ มีเพียง 25% ของผู้บริหารที่กล่าวว่าบริษัทของตนได้เดินหน้าในเรื่องโครงการ ESG/ความยั่งยืน* องค์กรส่วนใหญ่กําลังทําเฉพาะสิ่งที่เป็นข้อบังคับเท่านั้น โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของ ESG แต่กลุ่มบริษัทขนาดเล็กแต่เติบโตเรื่อย ๆ ต้องการสร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่กว่าการเพียงแค่ทําแบบฝึกหัดเรื่องความโปร่งใสของค่าตอบแทนที่จําเป็น พวกเขาจะทํางานอย่างแข็งขันเพื่อให้บรรลุความเสมอภาคในการจ่ายค่าจ้างภายใน และปรับปรุงโปรแกรมและมาตรการด้านความหลากหลาย ความเสมอภาค และการยอมรับความแตกต่าง (DEI)
การสร้างวัตถุประสงค์และสิ่งจูงใจด้านความยั่งยืนที่เหมาะสมอาจเป็นเรื่องยุ่งยาก แม้ว่าองค์กรมากกว่า 80% กล่าวว่าพวกเขามุ่งเน้นไปที่การปรับปรุง DEI ซึ่งเป็นส่วนสําคัญของความยั่งยืนทางสังคม แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่กําหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายหมายด้าน DEI เชิงปริมาณอย่างเป็นทางการ และแม้ว่าการดำเนินการเชิงสังคมของ ESG จะเกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นจุดมุ่งเน้นหลักก่อนหน้านี้ แต่มีเพียงหนึ่งในสามของผู้บริหารระดับประธานเจ้าหน้าที่เท่านั้นที่กำหนดเป้าหมายในวิธีการวัดประเมินผลงานส่วนบุคคลให้เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการทํางานที่ดี (37%) และ DEI (36%)
การวัดประเมินผลงานด้าน ESG เป็นการปูทางสู่ความสำเร็จ
สําหรับองค์กรในทุกขั้นตอนของการมีส่วนร่วมกับ ESG การวัดประเมินผลงานสามารถสร้างผลลัพธ์ได้ ช่วยชี้แนะผู้นําให้สามารถทำการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยความยั่งยืนได้รอบคอบมาก ซึ่งเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขอบเขตที่ต้องมุ่งเน้น โครงสร้างและการกํากับดูแล การจัดการทรัพยากร และตัวชี้วัดและการจัดหาเงินทุน การมุ่งเน้นไปที่องค์ประกอบเชิงปฏิรูปเหล่านี้สามารถช่วยปลูกฝังความยั่งยืนลงในความเป็นผู้นํา แนวปฏิบัติด้านบุคลากร และการปฏิบัติการได้
การวัดประเมินผลงานยังสามารถคลายแรงจูงใจแบบดั้งเดิมที่ขับเคลื่อนโดยความสามารถในการทํากําไรและผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล สร้างงบประมาณตามปัจจัยต่าง ๆ ที่ครอบคลุมขึ้น รวมถึงความสามารถขององค์กรในการบรรลุเป้าหมายด้าน ESG ด้วยเหตุนี้ เป้าหมายด้าน ESG จึงได้เริ่มเคลื่อนย้ายลงจากระดับผู้บริหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้จัดการและพนักงานที่ไม่เคยได้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์เหล่านี้
การปลูกฝังความยั่งยืนลงในดีเอ็นเอขององค์กรของคุณ
เศรษฐกิจหมุนเวียน ความรับผิดชอบหมุนเวียน
สําหรับองค์กรที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งหมายถึงองค์กรที่ลดการใช้วัสดุ ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง และรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อผลิตวัสดุและผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ค่าตอบแทนอาจเชื่อมโยงอยู่กับตัวชี้วัดด้าน ESG สําหรับพนักงานกลุ่มต่าง ๆ
- ผู้นําสามารถเริ่มต้นด้วยการสร้างและการสื่อสารถึงกลยุทธ์และเหตุผล: เศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นส่วนสําคัญของ ESG สําหรับด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นส่วนสำคัญสําหรับองค์กรเช่นกัน เนื่องจากช่วยประหยัดต้นทุน ทําให้ลูกค้าพึงพอใจและสามารถดึงดูดผู้มีทักษะความสามารถสูง
- การดําเนินการตามกลยุทธ์นี้ครอบคลุมถึงผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ที่มีหน้าที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อการรีไซเคิล และมีการทำงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยิ่ง
- ยอดขายผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนสามารถใช้เป็นแรงจูงใจได้จากแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่น่าสนใจ เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้กลายเป็นรายได้ของบริษัทอย่างต่อเนื่อง
- พนักงานบริการเองก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน เมื่อพวกเขาต้องติดต่อกับลูกค้าเพื่อเรียกคืนและรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
ท้าทายตัวคุณเอง: คําถาม 10 ข้อเกี่ยวกับการปลูกฝัง ESG เข้าในองค์กรของคุณ
-
คุณระบุพบปัญหา ESG ที่กดดันที่สุดขององค์กรของคุณหรือไม่
-
วัตถุประสงค์และวัฒนธรรมองค์กรของคุณสอดคล้องกับหลักการ ESG มากน้อยเพียงใด
-
แผนสร้างแรงจูงใจของคุณสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้าน ESG ของคุณมากน้อยเพียงใด แผนเหล่านั้นได้ผลหรือไม่ คุณสร้างจูงใจเพื่อให้บุคลากรได้รับค่าตอบแทนภายนอกขอบเขตของ ESG หรือไม่
-
คุณนําพาบุคลากรของคุณไปด้วยอย่างไรบนเส้นทางนี้ บุคลากรทั่วทั้งองค์กรคำนึงถึง ESG ในการทํางานประจําวันของพวกเขามากน้อยเพียงใด
-
คุณระบุถึงงานจากทั่วทั้งองค์กรของคุณที่มีผลกระทบมากที่สุดต่อผลการดําเนินงานด้าน ESG ไว้หรือไม่ พวกเขามีการพัฒนาเพื่อสร้างผลลัพธ์หรือไม่
-
คุณได้ปลูกฝัง ESG ลงในโปรแกรมการจัดการผู้มีทักษะความสามารถสูงของคุณหรือไม่
-
ความคาดหวังด้าน ESG มีอิทธิพลต่อข้อเสนอผลิตภัณฑ์และบริการของคุณอย่างไร
-
คุณก้าวล้ำนำหน้าระเบียบข้อบังคับและข้อกําหนดในการรายงานที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
-
คุณประเมิน เปรียบเทียบ และจัดการความคืบหน้าด้าน ESG ของคุณอย่างไร
-
คุณได้กำหนดข้อผูกมัดที่มีกรอบเวลาบังคับเพื่อคงความรับผิดชอบเอาไว้หรือไม่